หากโหลดเวบไม่ขึ้นให้ท่านลง java runtime environment (jre6)
เราทำงาน โดยไม่มีอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงานมาแล้ว :
นับจาก อุบัติเหตุครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2547 : เป้าหมาย ไม่เกิดอุบัติเหตุ: สถิติสูงสุด - วัน

ความเสี่ยงของผู้ที่ปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์ทั้งวัน

            ปัจจุบัน  รูปแบบการทำงานของเราได้มีการเปลี่ยนแปลง  จากการที่แต่ละคนเคยทำงานหลายๆอย่าง เช่น พนักงานต้อนรับ อาจรับโทรศัพท์ จัดแฟ้มเอกสาร  พิมพ์เอกสาร เป็นการใช้มือทำงานในรูปแบบที่แตกต่างกัน  ซึ่งก็ไม่มีปัญหาอะไร  แต่เมื่อรูปแบบการทำงานเปลี่ยนแปลงไป ทำให้พนักงานตำแหน่งหนึ่งจะทำงานที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น ทำให้ต้องทำงานในลักษณะเดียวตลอดทั้งวันเป็นระยะเวลานาน   โดยเฉพาะเราจะเห็นว่า งานหลายๆอย่างในปัจจุบันมักจะใช้คอมพิวเตอร์  ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บสะสม(Cumulative trauma disorder) ซึ่งเป็นการบาดเจ็บแบบสะสมทีละเล็กทีละน้อยเป็นเวลานาน มักเกิดจากการทำงานเกินกำลัง หรือ การทำงานในท่าทางที่ไม่ถูกต้องซ้ำๆเป็นเวลานาน เป็นการบาดเจ็บแบบทีละน้อย แต่หากฝืนทำเรื่อยๆ จะเกิดอาการบาดเจ็บขึ้นอย่างชัดเจน ตัวอย่างการบาดเจ็บชนิดนี้ เช่น เอ็นข้อมืออักเสบ นิ้วตายหรือชาด้าน ข้อศอกอักเสบ เป็นต้น



            ตัวอย่างเช่น พนักงานธุรการคนหนึ่งที่ปฏิบัติงานอยู่กับคอมพิวเตอร์ทั้งวันเป็นระยะเวลาหลายปี  ตื่นนอนขึ้นมาด้วยอาการมือชาและไม่มีแรง  ไม่สามารถหยิบจับของได้  โดยสังเกตว่า จากการทำงานในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เมื่อสิ้นสุดการทำงานในแต่ละวัน มือและข้อมือจะรู้สึกล้าเพราะต้องปฏิบัติงานอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งวันเป็นระยะเวลานาน  จนกระทั่งเริ่มรู้สึกว่าผิดปกติเมื่อเกิดอาการชาขึ้น

โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ(Carpal tunnel syndrome) เป็นโรคที่พบได้บ่อย ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ใช้ที่ข้อมือ หรือการใช้งานข้อมือท่าเดิมๆ  คนที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นประจำนานๆจะเป็นพังผืดบริเวณข้อมือ เนื่องจากการใช้เม้าส์โดยใช้ ข้อมือเป็นจุดหมุน หรือแม้แต่กดคีย์บอร์ด จะมีอาการปวด ชา ตั้งแต่บริเวณข้อมือจนถึงปลายนิ้ว ซึ่งมักมีอาการมากบริเวณนิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลาง หรือในบางรายอาจมีอาการได้ทั้งฝ่ามือ ถ้าเส้นประสาทถูกกดทับมากขึ้น จะทำให้อาการอ่อนแรงของมือ หยิบจับของลำบาก หรือถือของหล่นบ่อยๆ และทำให้กล้ามเนื้อบริเวณฝ่ามือลีบลง  


            อาการบาดเจ็บเหล่านี้เริ่มพบเห็นจากการทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ  ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้พนักงานต้องหยุดงานบ่อยๆ ในต่างประเทศก็มีการเคลื่อนไหวของสหพันธ์แรงงานในการขอให้มีการกำหนดมาตรฐานการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการยศาสตร์  หรือการคุ้มครองพนักงานที่บาดเจ็บและต้องหยุดพักเพื่อรักษาตัวเป็นเวลาหลายเดือนโดยได้รับค่าจ้าง  แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนองจากเหล่าเจ้าของธุรกิจ เนื่องจากเห็นว่า เป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและเป็นสิ่งที่เกินจำเป็นสำหรับธุรกิจ
            นายจ้างหลายองค์กรอาจจะเห็นความสำคัญ มีการปรับปรุงสถานีงาน(Work Station) อุปกรณ์ช่วยการทำงาน จัดให้มีเวลาพักเป็นระยะ   และให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่ถูกต้องและการออกกำลังยืดเหยียดกล้ามเนื้อ  แต่พนักงานจำนวนไม่น้อยที่แม้ว่าจะทราบถึงความเสี่ยงจากการที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน   แต่ก็มักจะไม่ปฏิบัติตาม
            ผลของการทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน  จนอาการบาดเจ็บสะสมเพิ่มมากขึ้น อาจทำให้ไม่สามารถแต่งตัว หรือติดกระดุมเม็ดบนได้ด้วยตนเอง  สายตาอ่อนล้า  ปวดหลังและคอ และรวมถึงอาการปวดหัว  แม้ว่าจะได้รับการรักษาด้วยยา หรือกายภาพบำบัดแล้วก็ยังไม่เพียงพอ  อาจเป็นมากจนจำเป็นต้องผ่าตัด   ซึ่งย่อมส่งผลกระทบกับการทำงานอย่างแน่นอน  หากไม่สามารถใช้มือในการทำงานได้อย่างเต็มที่เหมือนเดิม  ไม่สามารถพิมพ์งานหรือใช้คอมพิวเตอร์ได้
            การมีท่าทางการทำงานที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน เช่นวางจอคอมพิวเตอร์ไว้ด้านข้าง  ทำให้ต้องหันหน้าไปยังมุมใดมุมหนึ่งตลอดทั้งวัน  ไม่มีการเตลื่อนไหวไปรอบๆ  ทำให้เกิดอาการตึงและผิดปกติที่กล้ามเนื้อ
            คนส่วนใหญ่แม้ว่าจะรู้ว่าต้องมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  แต่ก็มักจะไม่ค่อยเห็นความสำคัญจนอาการบาดเจ็บเกิดขึ้น  กรณีที่ทราบปัญหาตั้งแต่เริ่มแรก ก็สามารถรักษาได้ทัน  อาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับผู้ที่ปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานอาจเกิดขึ้นได้มากน้อยแตกต่างกันขึ้นกับแต่ละบุคคล
            แม้ว่า นายจ้างหลายองค์กรจะเห็นความสำคัญของสุขภาพอนามัยของพนักงาน  ด้วยการปรับปรุงสภาพการทำงาน ให้ความรู้ และมีประกันสุขภาพให้แก่พนักงาน   แต่พนักงานก็ควรจะใส่ใจในการออกกำลัง และปฏิบัติงานตามมาตรฐานการทำงานที่ปลอดภัยอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ เพราะหากพนักงานละเลยจนอาการบาดเจ็บเรื้อรังจนยากแก่การแก้ไข  ย่อมหมายถึงการสูญเสียงาน หรือสูญเสียอนาคตได้